สำนักงานจังหวัดมุกดาหาร
ประวัติความเป็นมา
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 60 แบ่งส่วนราชการของจังหวัดไว้ ซึ่งได้ระบุถึงสำนักงานจังหวัดและหน้าที่ความรับผิดชอบไว้ด้วย ดังนี้
(๑.) สำนักงานจังหวัด มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไป และการวางแผนพัฒนาจังหวัดของจังหวัดนั้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไป และการวางแผนพัฒนาจังหวัดของจังหวัดนั้น มีหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานจังหวัด
(๒.) ส่วนต่างๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวง กรมนั้น ๆ มีหน้าที่ส่วนราชการประจำจังหวัดนั้น ๆ เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบสำนักงานจังหวัดเป็นหน่วยงานบริหารราชการส่วนภูมิภาค ดำเนินการเป็น ศูนย์กลาง ในการบริหารงานของผู้ว่าราชการจังหวัด เช่นเดียวกับสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการบริหาร ราชการของกระทรวงมหาดไทยในส่วนกลางสำนักงานจังหวัด เป็นหน่วยงานที่ปรากฏชื่อเป็นครั้งแรกในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 ซึ่งตามมาตรา 38 ของ พระราชบัญญัติดังกล่าว กำหนดไว้ว่า “ให้แบ่งส่วนราชการของจังหวัดดังนี้ สำนักงานจังหวัด มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของจังหวัดนั้น มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ปกครองบังคับ บัญชาและรับผิดชอบส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวง กรม นั้น ๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดนั้น ๆ เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาและรับผิดชอบ ”
กระทรวงมหาดไทยโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2516 จึงได้กำหนดให้มีอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ เพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้ว่าราชการจังหวัดขึ้นในสำนักงานจังหวัด 5 จังหวัด และได้มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2518 กำหนดให้ขยายการจัดอัตรากำลังเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2518 อีกจำนวน 16 จังหวัด และในปี พ.ศ. 2519 จำนวน 49จังหวัด ตามลำดับ ทั้งนี้ เพื่อให้สำนักงานจังหวัดเป็นหน่วยงานที่มีขีดความสามารถในการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ดำเนินการเป็นศูนย์กลางในการบริหารงานของผู้ว่าราชการจังหวัด ได้เช่นเดียวกับสำนักงานปลัดกระทรวง มหาดไทยในส่วนกลาง ส านักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารการวินิจฉัยสั่งการ การประสานงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนการปฏิบัติงานของสำนักงานจังหวัดให้เป็นไป ตามนโยบาย ซึ่งได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่ขึ้นในส่วนราชการของสำนักงานจังหวัดเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2517 ใน 5 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา นครสวรรค์ ชลบุรี สงขลา และยะลา ต่อมา ในปี พ.ศ. 2518 ได้ขยาย การดำเนินการเพิ่มขึ้นใน 16 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา อุบลราชธานี เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ ธานี นราธิวาส ลพบุรี สระบุรี นนทบุรี ฉะเชิงเทรา จันทบุรี สมุทรปราการ สุโขทัย พิจิตร นครปฐม และชุมพร และในปี พ.ศ. 2519 ได้ขยายเพิ่มขึ้นจนครบทุกจังหวัด
อำนาจหน้าที่ของสำนักงานจังหวัดมุกดาหาร
1) แปลงยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับชาติไปเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดในพื้นที่
2) พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหาร ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการวางแผน และเครือข่าย
สารสนเทศของจังหวัด โดยเป็นศูนย์สารสนทศของจังหวัด เพื่อการบริหารและวางแผนพัฒนาจังหวัด
3) จัดทำแผนพัฒนาจังหวัด ดำเนินการตามแผน กำกับและติดตามผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ นโยบาย
และแผนพัฒนาจังหวัด รวมทั้งประสานการจัดทำแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด
4) จัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดหรือคำของบประมาณของจังหวัด และประสานการจัดทำ
แผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัดหรือคำของบประมาณของกลุ่มจังหวัด
5) ดำเนินการด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลและการพัฒนาระบบราชการของจังหวัด
6) อำนวยการประสาน ปฏิบัติงาน และสนับสนุนงานอันเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด
7) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นทีเกี่ยวข้อง
กลุ่มงานศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด
– รับเรื่องราวร้องทุกข์ (ยกเว้น เรื่องร้องเรียนเจ้าหน้าที่ ของรัฐที่อยู่ในอำนาจผู้ว่าราชการจังหวัด)
– การจัดชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็ว (Mobile Service)
– รับเรื่องราวความต้องการและข้อเสนอแนะของประชาชน
– งานคุ้มครองผู้บริโภคของจังหวัด
– งานบริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One Stop Service : OSS)
– งานบริการและให้คำปรึกษาเขตเศรษฐกิจพิเศษ
– งานบริการรับเรื่อง – ส่งต่อ
– งานบริการข้อมูลข่าวสาร/ให้คำปรึกษา
– ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด
– พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการวางแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด
– การบูรณาการและเชื่อมโยงแผนในทุกระดับ เพื่อนำไปสู่ การปฏิบัติในพื้นที่
– จัดทำแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด
– จัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีและคำของบประมาณ ของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด
– ประสานและปฏิบัติตามแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด และแผนงาน/โครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี
– บริหารงบประมาณตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี ของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด
– ติดตามและประเมินผลตามแผนพัฒนา/แผนปฏิบัติราชการ ประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด
– สนับสนุนเชิงวิชาการด้านนโยบายและแผนแก่หน่วยงาน ในจังหวัด
– งานตรวจราชการ
– ประสานและดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
– งานความร่วมมือภาครัฐและเอกชน
– งานกิจการพิเศษตามนโยบายรัฐบาล
– ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
กลุ่มงานอำนวยการ
– บริหารงานทั่วไปของจังหวัด
– งานช่วยอำนวยการผู้ว่าราชการจังหวัด
– เสนอแนะการบริหารราชการตามที่กฎหมายกำหนดให้ เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด
– งานรัฐพิธี ราชพิธี
– จัดให้มีระบบการสื่อสารระหว่างส่วนราชการภายในจังหวัด รวมทั้งระหว่างจังหวัดและส่วนกลาง
– งานให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย
– งานประชาสัมพันธ์ของสำนักงานจังหวัด
– งานการต่างประเทศและงานความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน
– งานกิจการด้านการข่าว
– งานพัสดุของสำนักงานจังหวัด
– งานการเงินและบัญชี ในฐานะ กรม/จังหวัด/สำนักงานจังหวัด
– งานเบิกจ่ายงบประมาณยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด และกลุ่มจังหวัด
– งานเบิกจ่ายงบประมาณแทนกัน
– งานจัดทำคำของบประมาณของสำนักงานจังหวัด
– ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
กลุ่มงานบริหารทรัพยากรบุคคล
– งานบริหารงานบุคคลในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด
– งานสนับสนุนผู้ว่าราชการจังหวัดในเรื่องกฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์ วิธีการ บริหารทรัพยากรบุคคล
– จัดทำฐานข้อมูลบุคคลจังหวัด วางแผนพัฒนาบุคลากร ในจังหวัด
– งานส่งเสริมจริยธรรม ป้องกันทุจริตและประเทศไทย ใสสะอาด
– ประสานงานกับสำนักงาน ก.พ.และส่วนราชการ ในการเพิ่มขีดความสามารถและเสริมสร้างความเข้มแข็ง
ด้านการบริหารงานทรัพยากรบุคคลจังหวัด
– งาน อ.ก.พ.จังหวัด และงาน ก.ธ.จ.
– งานบริหารงานบุคคลของสำนักงานจังหวัด
– เรื่องร้องเรียนเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในอำนาจผู้ว่าราชการจังหวัด
– การพัฒนาระบบราชการของจังหวัด
– คำรับรองการปฏิบัติราชการของจังหวัด
– การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของจังหวัด
– ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
หน่วยงานตรวจสอบภายใน
-ผู้ตรวจสอบภายในต้องปฏิบัติงานด้วยความอิสระ และปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเที่ยงธรรม มีประสิทธิภาพ
สร้างความเชื่อมั่นและเพิ่มคุณค่า
-บริการด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจ ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ไม่มีอคติหรือข้อจำกัดอื่นใด
-ต้องจัดให้มีการประกันคุณภาพงานตรวจสอบภายในจากภายนอกอย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี
-ปฏิบัติตามกรอบแนวทางกระทรวงมหาดไทย กรมบัญชีกลาง และนโยบายรัฐบาล